สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน....ขึ้นปีใหม่แล้วเรามาเริ่มต้นพัฒนาชีวิตให้กับตนเองกันดีไหมคะ หันมาดำเนินชีวิตตามพระราชดำรัสชี้แนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ แนวทาง "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่พออยู่พอกิน สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่เดือดร้อนและไม่เคร่งเครียดไปกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสังคม การพัฒนาชีวิตให้มีความมั่นคงและมีคุณภาพนั้น "น้ำหมักชีวภาพ" ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินชีวิตพึ่งพาตนเองได้อย่างพอเพียงในโลกปัจจุบันนี้ น้ำหมักชีวภาพนี้เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของชาวบ้านไทย ๆ ที่ทำสืบทอดกันมาเป็นเวลานานชั่วลูกหลาน ใช้ประโยชน์สารพัด เช่น ใช้บริโภคเพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ใช้ในครัวเรือน นำมาเป็นส่วนผสมเพื่อทำความสะอาดครัวเรือน แช่ผักล้างสารพิษตกค้าง เป็นส่วนผสมเพื่อทำความสะอาดสุขภัณฑ์ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการกำจัดศัตรูพืชได้ เป็นปุ๋ยสำหรับพืชแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์เพื่อส่งเสริมสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น สรุปแล้วน้ำหมักมีประโยชน์มากมายเกินคาด อยากรู้ก็ต้องทดลองด้วยตนเอง เพื่อที่จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพไว้บริโภคกันเอง ก็ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหมักให้เข้าใจเสียก่อน แล้วจึงค่อยทดลอง จะได้ปฏิบัติถูกต้อง
ดิฉันได้คัดลอกข้อมูลย่อ ๆ เกี่ยวกับ "น้ำหมักชีวภาพ" จากหนังสือสุขภาพดีและความงามเริ่มจากข้างใน เขียนโดย ม.ศ. ดร.ไชยวัฒน์ ไชยสุต มาฝากท่านผู้สนใจด้วยค่ะ
น้ำหมักชีวภาพคืออะไร ?
น้ำหมักชีวภาพ คือ ของเหลวที่เกิดจากการหมักพืช ผัก ผลไม้รวมทั้งสมุนไพรกับสารให้ความหวาน เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง ในสภาวะที่มีแบคทีเรียกรดแลกติด (lactic acid bacteria)
น้ำหมักชีวภาพอาจมีชื่อเรียกกันหลากหลายแตกต่างกัน เช่น น้ำหมักพืช น้ำสกัดชีวภาพ น้ำหมักสมุนไพร น้ำเอนไซม์ น้ำจุลินทรีย์ น้ำหมักโปรไบโอติก น้ำไอออนิกพลาสมา เซลล์ฟูดซ์
ความแตกต่างระหว่างน้ำหมักชีวภาพกับไวน์
น้ำหมักชีวภาพเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ หรือเกิดในปริมาณน้อยมาก แต่เกิดกรดแลกติก
เป็นหลักเนื่อจากหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกรดแลกติก ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาบพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ (เช่น พบบนผิดพืช น้ำหรือวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสม) และหรือที่เติมลงไปเป็นหัวเชื้อในการหมัก เช่น แลกโตบาซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus case) แลกโตบาซิลลัส อะซิโตฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) หรือจุลินทรีย์อื่นที่สามารถใช้ในการผลิตน้ำหมัพืช ทั้งนี้อาจมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่ยังมีชีวิตคงเหลืออยู่ได้
ไวน์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักผลไม้โดยกระบวนการหมัก จะใช้เชื้อยีสต์บริสุทธิ์ เช่น
ยิสต์แซคคาโรมัยซีส (Saccharomyces cerevisiae) เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นอาหาร และให้ผลผลิตเป็นเอทิลแอลกอฮอล์กับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
เปรียบเทียบลักษณะและประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพและไวน์
น้ำหมักชีวภาพ
อาจยังมีความขุ่นหรือตะกอนซึ่งเกิดจากส่วนประกอบที่มาจากพืชสมุนไพรปั่นละเอียดและเซลล์ของจุลินทรีย์ที่มีในกระบวนการหมัก ทั้งจุลินทรีย์ที่มีในธรรมชาติและที่เติมลงไปเป็นหัวเชื้ออยู่ในสภาพที่มีชีวิต (ผลตภัณฑ์โปรไบโอติก) หรือที่เป็นเซลล์ตายจากกระบวนการกำจัดจุลินทรีย์โดยการให้ความร้อนหรือใช้สารเคมี
ซึ่งการบริโภคกากตะกอนของพืชและจุลินทรีย์นี้ อาจส่งเสริมสุขภาพในเรื่องของโปรไบโอติกและยังอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้
ไวน์
จะต้องผ่านกระบวนการกำจัดจุลินทรีย์และยีสต์ซึ่งเป็นหัวเชื้อในการหมักและนำไปผ่านกระบวนกรอง การทำให้ใสและการบ่ม ก่อนการบริโภค
น้ำหมักชีวภาพกับความปลอดภัยทางกายภาพ
ควรพึงระวังและติดตามผลเมื่อทำการหมัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สี กลิ่น รส ความขุ่น ฟองแก๊ส เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวชี้บ่งเบื้องต้นว่า กระบวนการหมักได้เกิดขึ้นหรือยัง มีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการหมักหรือไม่ โดยควรที่จะสังเกตลักษณะทางกายภาพ ดังนี้
สี สีของน้ำหมักจะเป็นสีน้ำตาลและค่อย ๆ เข้มมากขึ้นเมื่อระยะเวลาในการหมักเพิ่มขึ้น
ความขุ่น ช่วงแรกของการหมักพบว่ามีฟองแก๊สเกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการหมักเริ่มเกิดขึ้น เนื้อของพืชที่ใช้ในการหมักเริ่มกระจายตัวเป็นชิ้นเล็ก ทำให้มีความขุ่นเพิ่มขึ้น หลังจากที่อัตราการหมักลดลง คือ เมื่อเกิดฟองแก๊สน้อยลงหรือไม่มีแก๊สเกิดขึ้นแล้ว พืชที่ใช้ในการหมักจะตกตะกอน ทำให้น้ำหมักมีความใสขึ่้น
กลิ่น หลังจากเริ่มกระบวนการหมักจะเริ่มมีกลิ่นหอมของน้ำตาลและพืชที่ถูกหมักและมีกลิ่นเปรี้ยวเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
รส ในวันแรกของกระบวนการหมักน้ำหมักจะมีรสฝาดหรือรสของพืชที่ใช้ผลิตและรสหวานของน้ำตาล หลังจากนั้นจะมีรสเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น เมื่อระยะเวลาในการหมักเพิ่มขึ้น รสหวานจะลดน้อยลงจนแทบหมดไป
ฟองแก๊ส ช่วงแรกของการหมักพบว่ามีฟองแก๊สเกิดขึ้น เนื่องจากการะบวนการหมักที่เกิดขึ้นอาจจะเพิ่มมากขึ้นจนถึงวันที่ ๑๕ ของการหมัก (ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลที่ใช้ในกระบวนการหมัก) หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงจนหมดไปในที่สุด (อาจจะใช้เวลามากกว่า ๓๐ วันของกระบวนการหมัก)
เมื่อได้ศึกษาข้อมูลอย่างย่อ ๆ แล้ว รู้สึกเป็นอย่างไรบ้างค่ะ ? น่าลองทำน้ำหมักไหมค่ะ ? เมื่อก่อนดิฉันเองก็ไม่เคยคิดที่จะลองทำน้ำหมักหรอกนะ มีเพื่อคนหนึ่งเขาแนะนำให้ลองทำ เมื่อมีโอกาสได้สนทนาทางโทรศัพท์ทีไร เธอมักจะแนะนำให้ฉันลองทำน้ำหมักเพื่อบริโภค เธอบอกว่ามีประโยชน์สารพัด เป็นยาอายุวัฒนะด้วย พี่สาวเธอที่เมืองไทยทำน้ำหมักเยอะมาก ถึงกับทำจำหน่ายด้วย เพราะมีคนเขากินแล้วทำให้สุขภาพแข็งแรงดี เธอมักจะสาธยายเรื่องประโยชน์ของน้ำหมักให้ฉันฟัง มีอยู่ครั้งหนึ่งเธอมาเยี่ยมถึงบ้านพร้อมกับนำน้ำหมักสมุนไพรมาให้ทดลองผสมน้ำดื่ม ฉันก็ได้ลองดื่ม แต่ก็ไม่คิดว่าจะทดลองทำเอง นับเป็นเวลา 3 ปีมาแล้วที่เพื่อนฉันได้เพียรพยายามที่จะให้ฉันทดลองทำน้ำหมัก
ในที่สุดฉันก็ใจอ่อนคิดอยากจะลองทำดู ว่าจะดีจริงอย่างที่เขาพูดกันไหม จึงได้เข้าไปศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพในหลาย ๆ เว็บที่นำมาเผยแพร่ โดยเฉพาะน้ำหมักของป้าเช็งมีการโชว์วิธีการทำอย่างละเอียด ก็ขอขอบคุณอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ....ฉันได้ศึกษาจนเข้าใจดีแล้ว จึงคิดว่าน่าจะพิสูจน์ให้รู้ด้วยตนเองซะที ไม่รีรอให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ รีบไปซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ในการหมัก ซื้อผลไม้ต่าง ๆ ที่มีในช่วงนั้น ซึ่งเป็นช่วงเริ่มเข้าฤดูร้อน จึงมีผลไม้หลายชนิดให้เลือกซื้อได้ตามชอบใจ ตั้งใจว่าจะทดลองทำเพียงเล็กน้อยก่อน พอทำไปทำมารู้สึกสนุกกับการทำน้ำหมัก เลยทำเยอะมากเลย ราว ๆ 120 ลิตร เริ่มลงมือทำน้ำหมักเมื่อปี 2013 เดือนพฤษภาคม พอน้ำหมักมีอายุได้ 3 ก็นำมาลองดื่ม ลองใช้ผสมน้ำทำความสะอาดพื้นบ้าน ห้องน้ำ ขัดกระจกประตูหน้าต่าง ผสมน้ำล้างถ้วยชามแก้วน้ำต่าง ๆ ผสมน้ำซักผ้าและรีดผ้า ขัดวัสดุของใช้ที่ทำด้วยทองเหลืองและ Chrom ใช้ผสมน้ำล้างผักก่อนนำไปประกอบอาหารหรือทำสลัด ผสมน้ำเป็นปุ๋ยต้นไม้ต่าง ๆ ใส่น้ำหมักเพียงเล็กน้อยลงในสระน้ำทำให้น้ำใสสะอาดไม่มีกลิ่นใบไม้เน่าที่ตกตะกอน ฤดูร้อนปีที่ผ่านมานี้ไม่มียุงและแมลงวันมารบกวนเหมือนเมื่อก่อน เพราะน้ำหมักทำให้น้ำใสสะอาดตลอดเวลา และยังเป็นอาหารให้แก่สัตว์ในน้ำด้วย
การทำน้ำหมักบริโภคไม่ยากเลย แต่ต้องมีความสนใจเอาใจใส่สม่ำเสมอในระยะแรก ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะว่าถ้าไม่สะอาดเพียงพอ น้ำหมักอาจจะเป็นอันตรายสำหรับการบริโภคได้ ดังนั้นจึงต้องให้เวลากับน้ำหมัก ถ้าทำปริมาณมากก็ต้องมีเวลาในกับการดูแลมากด้วยเช่นกัน เพราะว่าในช่วงเริ่มต้นตอนที่กำลังจะเป็นแอลกอฮอร์ จะมีพวกแมลงมารบกวน หรือเกิดเชื้อราเกาะผิวส่วนบนของผลไม้ที่ลอยอยู่ข้างบน ต้องใช้ภาชนะที่สะอาดคนเป็นระยะ เวลาปิดฝาถ้าจะให้ปลอดภัยจากแมลง ควรใช้ปลาสติกบางปิดที่ปากภาชนะก่อนแล้วดจึงปิดฝาให้สนิท
ถ้าจะให้สนุกกับการทำน้ำหมัก ก็ควรจะมีผู้ช่วยในการทำด้วย เช่น สมาชิกในครอบครัวช่วยกันล้างหั่นผลไม้หรือผัก ช่วยกันหมัก ช่วยกันชิม ช่วยกันดูแล วัน ๆ ผ่านไปอย่างมีค่ามากขึ้นค่ะ เมื่อได้ลงมือทำน้ำหมัก เพราะยิ่งนานวันน้ำหมักก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
น้ำหมักตระกูล Berry |
น้ำหมักจากผล Nectarine+Pear |
น้ำหมักจากชารวมเป็นวุ้น |
น้ำหมักจากชารวม อายุการหมัก ๓ เดือน |
น้ำหมักองุ่นสีเขียว น้ำหมักแครอท |
น้ำหมัก Kaktusfeige อายุการหมัก ๑ เดือน |
น้ำหมักหัวเชื้อจากผล Pear |
วุ้นจากน้ำหมัก Apricot |
วุ้นจากน้ำหมัก Kaki |
............................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น