วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

การทำน้ำหมักจากพืชผักสด


วิธีทำน้ำหมักจากพืชผักสด  ทุกท่านสามารถทำเองได้  เพราะพืชผักสดหาได้ไม่ยากและราคาก็ไม่แพงมากนัก  หรืออาจทำได้โดยใช้เศษพืชผักสดก็ย่อมได้

อัตราส่วน  พืชผักสด 3  ส่วน  น้ำตาล  1  ส่วน  น้ำ 10  ส่วน  ใส่รวมกันในขวดหรือถังพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท  อย่าให้อากาศเข้าได้  เว้นที่ว่างไว้ประมาณ 1  ใน  5  ของขวดหรือถัง  เปิดฝาดูบ่อย ๆ  เพื่อคลายแก๊สออก  แล้วปิดให้สนิททันที  นำไปวางไว้ในที่ร่ม  ไม่ให้ถูกแสงแดด  หมักไว้ประมาณ 3  เดือน  ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีจุลินทรีย์  สารอินทรีย์  ธาตุอาหาร  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้วย  เช่น  ใช้ในการเพาะปลูกกสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ  ใช้ทำปุ๋ยสำหรับพืชผักต่าง ๆ  (แทนปุ๋ยเคมี)  ใช้สำหรับเป็นส่วนผสมทำสบู่  แชมพู  น้ำยาล้างถ้วยจานและใช้ทำความในครัวเรือน  ใช้ผสมน้ำล้างผัก  ล้างเนื้อสัตว์ก่อนประกอบอาหาร  ใช้ขัดกระจก  ใช้ผสมน้ำทำความสะอาดพื้นไม้และพื้นกระเบื้อง  ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ  (ดับกลิ่นตัวได้ด้วย) ทำความสะอาดห้องน้ำ  ห้องส้วม และท่อระบายน้ำ

สูตร  การทำน้ำหมักชีวภาพ  3 :  1 :  10  หมักเป็นเวลา  3  เดือน





ผักสดสำหรับหมัก  ล้างแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ



น้ำหมักผักรวม  อายุการหมัก ๑ เดือน





น้ำหมักผักรวมอายุ ๖ เดือน
น้ำหมักองุ่นสีเขียว อายุการหมัก ๒ เดือน
หมักผล Plum อายุการหมัก ๑ สัปดาห์
น้ำหมักผล Aprikot อายุการหมัก ๑ สัปดาห์
น้ำหมักผล Pear อายุการหมัก ๒ เดือน เป็นวุ้นบาง ๆ
น้ำหมักผล Peach อายุการหมัก ๑ สัปดาห์


น้ำหมักข้าวโอ๊ต อายุการหมัก ๑ สัปดาห์
น้ำหมัก Kaktus อายุการหมัก ๑ สัปดาห์
น้ำหมักจากชาสมุนไพร อายุการหมัก ๓ เดือน
วุ้นจากน้ำหมัก Apple

วุ้นจากน้ำหมักมะนาว

วุ้นจากน้ำหมักชารวม
วุ้นจากตระกูล Berry
วุ้นจากผล Pear




เคล็ดลับในการทำน้ำหมัก

1.  ควรเลือกใช้ผักหรือเศษผักที่สด ๆ  หั่นหรือสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ  ใส่ในภาชนะที่ปากกว้าง  เป็นภาชนะพลาสติก  ถ้ามีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้ว  ให้ผสมน้ำหมักชีวภาพผสมลงไปด้วย  โดยลดปริมาณน้ำตาลลง
ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้  จนกว่าจะเป็นน้ำหมักชีวภาพ  แล้วกรอกใส่ขวดพลาสติกปิดฝาไม่สนิทเพื่อกันการระเบิด  จากนั้นสามารถนำไปใช้งานได้

2.  ในระหว่างของการหมัก  ไม่ควรปิดฝาสนิท  ควรหมั่นเปิดฝาคลายแก๊ซ  แล้วปิดฝาไว้อย่างเดิม

3.  ไม่ควรใช้พืชที่มีน้ำมันที่ผิวเปลือก  เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลาย


การขยายน้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ครบ  3  เดือนแล้ว  ให้เทเอาเฉพาะน้ำใสออกมาใส่ในอีกภาชนะ  ส่วนนี้เรียกว่า
"หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ"  แล้วนำน้ำหมักชีวภาพนั้นมา  1  ส่วน  น้ำตาล  1  ส่วน  น้ำ  10  ส่วน  ใส่รวมกันในภาชนะปากกว้าง  คนน้ำตาลให้ละลาย  แล้วเทใส่ลงในขวดหรือถังพลาสติก  เว้นที่ว่างไว้ประมาณ  1  ใน  5  ของขวดหรือถัง  หมั่นเปิดฝาคลายแก๊ซ  แล้วปิดฝาให้สนิททันที  ตั้งขวดหรือถังไว้ในที่ไม่ถูกแสงแดด  หมักต่ออีก 2  เดือน  ก็จะได้หัวเชื้อที่มีอายุ  5  เดือน

สูตร  การขยายน้ำหมักชีวภาพ  1  :  1  :  10  หมักเป็นเวลา  3   เดือน



...................................
















วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อบริโภค


น้ำหมักชีวภาพ  (เอนไซน์)  เป็นสารโปรตีน  วิตามินเอ  บี  ซี  ดี  อี  เค  อะมิโนเอซิค (Amino acid)  และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa)  ที่ได้จากการหมักผัก  ผลไม้หรือสมุนไพรต่าง ๆ  ก่อนที่จะได้เป็นน้ำหมักหัวเชื้อนั้น  จะให้เวลาหมักอายุ  6  เดือน  แล้วจึงนำมาขยายหมักต่ออีก  6  เดือน  ก็จะได้น้ำหมักที่มีอายุ  1  ปี  หรืออายุมากกว่านั้น  ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  น้ำหมักชีวิภาพเพื่อบริโภคนั้น  หากหมักได้ถูกต้อง  ก็จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของระบบย่อย  ระบบขับถ่าย  ทำให้มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น
ช่วยลดไขมันในเลือดได้  



Nectarine+Pear
Nectarine+Pear อายุการหมัก ๑ สัปดาห์
น้ำหมักหัวเชื้อ
การเก็บน้ำหมักเพื่อป้องกันแมลงรบกวน



น้ำหมักหัวเชื้อ

อุปกรณ์ที่ใช้

1.  ถังพลาสติกทึบแสงขนาดตามต้องการ
2.  ถุงพลาสติกใส่  ขนาดใหญ่  สำหรับใส่่ถังหมัก  เพื่อป้องกันแมลง

3.  ขวดพลาสติกหนา  หรือขุดแก้ว  สำหรับใส่น้ำหัวเชื้อ  ขนาดตามต้องการ

ส่วนผสม  

1.  น้ำตาลทรายแดงป่น หรือ กากน้ำตาล  1  กก.

2.  ผลไม้สด    3   กก.  (ควรใช้ผัก ผลไม้  หรือสุนไพร ที่มีตามฤดูกาล)

3.  น้ำ 10  ลิตร


วิธีหมัก

1.  น้ำตาลทรายแดงและน้ำผสมกัน  คนให้ละลายเข้ากันในถังพลาสติกที่สะอาด

2.  ล้างผลไม้ให้สะอาด  ผึ่งให้แห้งสนิท  หั่นผลไม้เป็นชิ้นขนาดเล็กพอสมควร  (ถ้าเป็นผลไม้ลูกเล็กไม่ต้องหั่น)

3.  นำผลไม้ที่หั่น  เทลงในถังน้ำตาลที่ผสมเข้ากันดีแล้ว  คนให้เข้ากันอีกครั้ง  ปิดฝาให้สนิท  นำถังใส่ลงในถุงพลาสติกแล้วปิดปากถุงให้สนิท  เพื่อกันแมลงไม่ให้มารบกวน

4.  เปิดถังตรวจดูทุกวัน  ในช่วงสัปดาห์แรกจะมีฟองสีขาวเกิดขึ้นและผลไม้จะลอย   ใช้ภาชนะสะอาดคนไล่แก๊ซออกให้หมด  และกดผลไม้ให้จม  เพื่อป้องกันส่วนบนไม่ให้ขึ้นรา  ดูทุกวันเป็นเวลา  4  สัปดาห์

5.  จากนั้นเปิดดูเดือนละครั้ง  ผลไม้จะจมและเกิดน้ำใส

6.  ขั้นต่อไปก็จะเกิดฝ้าสีขาวบาง ๆ  ลอยอยู่ส่วนบน  เมื่อมีอายุนานขึ้น  ก็จะกลายเป็นวุ้น  ถ้าเป็นฝ้าสีขาวปลอดภัย  ส่วนฝ้าสีดำมีโทษ เพราะการหมักอาจไม่สะอาดพอจึงเกิดจุลินทรีย์ที่ให้โทษได้  เพราะฉะนั้นจึงควรระวังเรื่องความสะอาดให้มาก

7.  เมื่อหมักได้  6  เดือน  กรองน้ำหมักส่วนที่ใสสำหรับเป็นหัวเชื้อ  ผสมกับน้ำผึ่งให้มีรสหวาน  ใส่ขวดเก็บไว้ทำเป็นหัวเชื้อ  หรือไว้ดื่ม  ส่วนกากที่เหลือให้เติมน้ำตาลและน้ำผสมให้ได้สัดส่วน  แล้วหมักต่ออีก  6  เดือน  ก็จะได้น้ำหมักมีอายุ  1  ปี


ลักษณะของน้ำหมัก  แบ่งออกเป็น  3  ระยะ  ดังนี้

การหมักระยะที่ 1   เป็นแอลกอฮอล์

การหมักระยะที่ 2   เป็นน้ำส้มสายชู

การหมักระยะที่ 3   เป็นยาธาตุมีรสขม


หมายเหตุ    คนอาศัยอยู่เมืองนอกก็ไม่มีผลไม้อย่างประเภท  ลูกยอ  บรเพ็ด  มะขามป้อม  ลำไย   มังคุด  และสมุนไพรของไทย ๆ   แต่เราก็สามารถใช้ผลไม้ที่มีตามท้องถิ่นและตามฤดูกาลได้




Plum
Nectarine
Pear
kaktusfeige
Kaki


บางท่านอาจจะใจร้อนอยากจะดื่มน้ำหมักก่อนกำหนด  ก็ดื่มได้ค่ะ  เอาหัวเชื้อที่กรองสะอาดดีแล้ว  ผสมน้ำและน้ำผึ่งดื่ม  รสชาดต้องไม่เปรี้ยวมาก  (ถ้าเปรี้ยวมากจะทำให้ฟันผุได้)  ฉันดื่มน้ำหมักผลไม้ทุกวัน ๆ  ละ  1  ช้อนคาว  ทางที่ดีก็ทดลองกันเองนะคะ  ว่าควรจะดื่มมากน้อยแค่ไหน  ฉันลองดื่มมาได้  5  เดือน  รู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงกว่าเมื่อก่อนมาก  ไปตรวจเช็คกระดูกมาแล้ว  ปรากฏว่ากระดูกไม่เสื่อมเร็วเหมือนเมื่อก่อน  ไม่จำเป็นต้องให้แคลเซี่ยมอีก (เมื่อก่อนต้องให้แคลเซี่ยมปีละครั้ง)  กระดูกกลับมีความแข็งแรงขึ้น  กล้ามเนื้อเยื่ออ่อนที่บริเวณรอบข้อต่าง ๆ  แข็งแรงยืดหยุ่นดีขึ้น  หัวเข่าเคยมีปัญหาเส้นยึดบ่อยมาก  บางครั้งเหยียดขาไม่ออกเป็นเวลา  3  ชั่วโมง  ปวดมากแสนจะทรมาน  จะเดินทางไกล ๆ  ก็ลำบาก  กลัวจะโดนเส้นยึดแข้งขาเหยียดไม่ออก  พอดื่มน้ำหมักได้ไม่นานอาการเหล่านี้ก็ไม่มีอีกแล้ว  เดินทางไกลได้อย่างสบาย   และอีกอย่างหนึ่ง  ฉันเป็นคนที่ชอบเป็นหวัดบ่อยมาก  ช่วงไหนมีหวัดระบาด  ฉันจะต้องเป็นคนแรกที่นำหวัดมาสู่คนในครอบครัวเสมอ  แต่เดี๋ยวนี้เก่งขึ้น  อยู่กับคนเป็นไข้หวัดใหญ่  ไอใส่บ่อย  ๆ  ก็ไม่ติดเชื้อ  นอกจากนั้นระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย  ผิวหนังก็แข็งแรงไม่มีปัญหาเรื่องแพ้สารพิษ  เมื่อก่อนกินผักหรือผลไม้สด ๆ  จะเป็นตุ่มเป็นแผลในปากเสมอ  พอใช้น้ำหมักบ้วนปากทุกวัน  ปัญหาก็หมดไปได้  น้ำหมักทำให้เจริญอาหารด้วย  รู้สึกกินอะไรก็อร่อยไปหมด  สรุปแล้วน้ำหมักมีประโยชน์มากมายสุดจะบรรยาย  อยากรู้ก็ลองหมักเอง  กินเอง  รู้เองจะดีกว่าจ้ะ


..........................






วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

น้ำหมักเพื่อสุขภาพ


สวัสดีค่ะ  ท่านผู้อ่านทุกท่าน....ขึ้นปีใหม่แล้วเรามาเริ่มต้นพัฒนาชีวิตให้กับตนเองกันดีไหมคะ  หันมาดำเนินชีวิตตามพระราชดำรัสชี้แนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ  แนวทาง "เศรษฐกิจพอเพียง"  เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่พออยู่พอกิน  สามารถพึ่งตนเองได้  ไม่เดือดร้อนและไม่เคร่งเครียดไปกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ของสังคม  การพัฒนาชีวิตให้มีความมั่นคงและมีคุณภาพนั้น "น้ำหมักชีวภาพ"  ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินชีวิตพึ่งพาตนเองได้อย่างพอเพียงในโลกปัจจุบันนี้  น้ำหมักชีวภาพนี้เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของชาวบ้านไทย ๆ  ที่ทำสืบทอดกันมาเป็นเวลานานชั่วลูกหลาน  ใช้ประโยชน์สารพัด  เช่น  ใช้บริโภคเพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน  ใช้ในครัวเรือน  นำมาเป็นส่วนผสมเพื่อทำความสะอาดครัวเรือน  แช่ผักล้างสารพิษตกค้าง  เป็นส่วนผสมเพื่อทำความสะอาดสุขภัณฑ์ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการกำจัดศัตรูพืชได้  เป็นปุ๋ยสำหรับพืชแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์เพื่อส่งเสริมสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรงมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น  สรุปแล้วน้ำหมักมีประโยชน์มากมายเกินคาด  อยากรู้ก็ต้องทดลองด้วยตนเอง  เพื่อที่จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพไว้บริโภคกันเอง  ก็ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหมักให้เข้าใจเสียก่อน แล้วจึงค่อยทดลอง  จะได้ปฏิบัติถูกต้อง

ดิฉันได้คัดลอกข้อมูลย่อ ๆ  เกี่ยวกับ  "น้ำหมักชีวภาพ"    จากหนังสือสุขภาพดีและความงามเริ่มจากข้างใน  เขียนโดย  ม.ศ.  ดร.ไชยวัฒน์  ไชยสุต  มาฝากท่านผู้สนใจด้วยค่ะ

น้ำหมักชีวภาพคืออะไร ?

น้ำหมักชีวภาพ  คือ  ของเหลวที่เกิดจากการหมักพืช  ผัก  ผลไม้รวมทั้งสมุนไพรกับสารให้ความหวาน เช่น  น้ำตาล  น้ำผึ้ง  ในสภาวะที่มีแบคทีเรียกรดแลกติด (lactic  acid  bacteria)

น้ำหมักชีวภาพอาจมีชื่อเรียกกันหลากหลายแตกต่างกัน  เช่น  น้ำหมักพืช  น้ำสกัดชีวภาพ  น้ำหมักสมุนไพร  น้ำเอนไซม์  น้ำจุลินทรีย์  น้ำหมักโปรไบโอติก  น้ำไอออนิกพลาสมา  เซลล์ฟูดซ์

ความแตกต่างระหว่างน้ำหมักชีวภาพกับไวน์

น้ำหมักชีวภาพเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์  หรือเกิดในปริมาณน้อยมาก  แต่เกิดกรดแลกติก
เป็นหลักเนื่อจากหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกรดแลกติก  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาบพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ  (เช่น  พบบนผิดพืช  น้ำหรือวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสม)  และหรือที่เติมลงไปเป็นหัวเชื้อในการหมัก  เช่น  แลกโตบาซิลลัส  คาเซอิ  (Lactobacillus  case)  แลกโตบาซิลลัส  อะซิโตฟิลลัส (Lactobacillus  acidophilus)  หรือจุลินทรีย์อื่นที่สามารถใช้ในการผลิตน้ำหมัพืช  ทั้งนี้อาจมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่ยังมีชีวิตคงเหลืออยู่ได้

ไวน์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักผลไม้โดยกระบวนการหมัก  จะใช้เชื้อยีสต์บริสุทธิ์  เช่น
ยิสต์แซคคาโรมัยซีส (Saccharomyces  cerevisiae)  เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นอาหาร  และให้ผลผลิตเป็นเอทิลแอลกอฮอล์กับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

เปรียบเทียบลักษณะและประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพและไวน์

น้ำหมักชีวภาพ
อาจยังมีความขุ่นหรือตะกอนซึ่งเกิดจากส่วนประกอบที่มาจากพืชสมุนไพรปั่นละเอียดและเซลล์ของจุลินทรีย์ที่มีในกระบวนการหมัก  ทั้งจุลินทรีย์ที่มีในธรรมชาติและที่เติมลงไปเป็นหัวเชื้ออยู่ในสภาพที่มีชีวิต (ผลตภัณฑ์โปรไบโอติก)  หรือที่เป็นเซลล์ตายจากกระบวนการกำจัดจุลินทรีย์โดยการให้ความร้อนหรือใช้สารเคมี

ซึ่งการบริโภคกากตะกอนของพืชและจุลินทรีย์นี้  อาจส่งเสริมสุขภาพในเรื่องของโปรไบโอติกและยังอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้


ไวน์
จะต้องผ่านกระบวนการกำจัดจุลินทรีย์และยีสต์ซึ่งเป็นหัวเชื้อในการหมักและนำไปผ่านกระบวนกรอง  การทำให้ใสและการบ่ม  ก่อนการบริโภค


น้ำหมักชีวภาพกับความปลอดภัยทางกายภาพ

ควรพึงระวังและติดตามผลเมื่อทำการหมัก  ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง  สี  กลิ่น  รส  ความขุ่น  ฟองแก๊ส  เพราะสิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้เป็นตัวชี้บ่งเบื้องต้นว่า  กระบวนการหมักได้เกิดขึ้นหรือยัง  มีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการหมักหรือไม่  โดยควรที่จะสังเกตลักษณะทางกายภาพ  ดังนี้


สี    สีของน้ำหมักจะเป็นสีน้ำตาลและค่อย ๆ  เข้มมากขึ้นเมื่อระยะเวลาในการหมักเพิ่มขึ้น


ความขุ่น  ช่วงแรกของการหมักพบว่ามีฟองแก๊สเกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการหมักเริ่มเกิดขึ้น  เนื้อของพืชที่ใช้ในการหมักเริ่มกระจายตัวเป็นชิ้นเล็ก  ทำให้มีความขุ่นเพิ่มขึ้น  หลังจากที่อัตราการหมักลดลง  คือ  เมื่อเกิดฟองแก๊สน้อยลงหรือไม่มีแก๊สเกิดขึ้นแล้ว  พืชที่ใช้ในการหมักจะตกตะกอน  ทำให้น้ำหมักมีความใสขึ่้น


กลิ่น   หลังจากเริ่มกระบวนการหมักจะเริ่มมีกลิ่นหอมของน้ำตาลและพืชที่ถูกหมักและมีกลิ่นเปรี้ยวเกิดขึ้นในเวลาต่อมา


รส    ในวันแรกของกระบวนการหมักน้ำหมักจะมีรสฝาดหรือรสของพืชที่ใช้ผลิตและรสหวานของน้ำตาล  หลังจากนั้นจะมีรสเปรี้ยวเพิ่มมากขึ้น  เมื่อระยะเวลาในการหมักเพิ่มขึ้น  รสหวานจะลดน้อยลงจนแทบหมดไป


ฟองแก๊ส    ช่วงแรกของการหมักพบว่ามีฟองแก๊สเกิดขึ้น  เนื่องจากการะบวนการหมักที่เกิดขึ้นอาจจะเพิ่มมากขึ้นจนถึงวันที่  ๑๕  ของการหมัก  (ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลที่ใช้ในกระบวนการหมัก)  หลังจากนั้นจะค่อย ๆ  ลดลงจนหมดไปในที่สุด  (อาจจะใช้เวลามากกว่า  ๓๐  วันของกระบวนการหมัก)


เมื่อได้ศึกษาข้อมูลอย่างย่อ ๆ  แล้ว  รู้สึกเป็นอย่างไรบ้างค่ะ ?  น่าลองทำน้ำหมักไหมค่ะ ?  เมื่อก่อนดิฉันเองก็ไม่เคยคิดที่จะลองทำน้ำหมักหรอกนะ  มีเพื่อคนหนึ่งเขาแนะนำให้ลองทำ  เมื่อมีโอกาสได้สนทนาทางโทรศัพท์ทีไร  เธอมักจะแนะนำให้ฉันลองทำน้ำหมักเพื่อบริโภค  เธอบอกว่ามีประโยชน์สารพัด  เป็นยาอายุวัฒนะด้วย  พี่สาวเธอที่เมืองไทยทำน้ำหมักเยอะมาก  ถึงกับทำจำหน่ายด้วย  เพราะมีคนเขากินแล้วทำให้สุขภาพแข็งแรงดี   เธอมักจะสาธยายเรื่องประโยชน์ของน้ำหมักให้ฉันฟัง  มีอยู่ครั้งหนึ่งเธอมาเยี่ยมถึงบ้านพร้อมกับนำน้ำหมักสมุนไพรมาให้ทดลองผสมน้ำดื่ม  ฉันก็ได้ลองดื่ม  แต่ก็ไม่คิดว่าจะทดลองทำเอง    นับเป็นเวลา  3   ปีมาแล้วที่เพื่อนฉันได้เพียรพยายามที่จะให้ฉันทดลองทำน้ำหมัก

ในที่สุดฉันก็ใจอ่อนคิดอยากจะลองทำดู   ว่าจะดีจริงอย่างที่เขาพูดกันไหม  จึงได้เข้าไปศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพในหลาย ๆ  เว็บที่นำมาเผยแพร่  โดยเฉพาะน้ำหมักของป้าเช็งมีการโชว์วิธีการทำอย่างละเอียด  ก็ขอขอบคุณอย่างยิ่งมา ณ  โอกาสนี้ด้วยค่ะ....ฉันได้ศึกษาจนเข้าใจดีแล้ว  จึงคิดว่าน่าจะพิสูจน์ให้รู้ด้วยตนเองซะที  ไม่รีรอให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์  รีบไปซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ในการหมัก  ซื้อผลไม้ต่าง ๆ  ที่มีในช่วงนั้น    ซึ่งเป็นช่วงเริ่มเข้าฤดูร้อน  จึงมีผลไม้หลายชนิดให้เลือกซื้อได้ตามชอบใจ  ตั้งใจว่าจะทดลองทำเพียงเล็กน้อยก่อน  พอทำไปทำมารู้สึกสนุกกับการทำน้ำหมัก  เลยทำเยอะมากเลย  ราว ๆ  120  ลิตร  เริ่มลงมือทำน้ำหมักเมื่อปี 2013  เดือนพฤษภาคม  พอน้ำหมักมีอายุได้  3  ก็นำมาลองดื่ม  ลองใช้ผสมน้ำทำความสะอาดพื้นบ้าน  ห้องน้ำ  ขัดกระจกประตูหน้าต่าง ผสมน้ำล้างถ้วยชามแก้วน้ำต่าง ๆ   ผสมน้ำซักผ้าและรีดผ้า  ขัดวัสดุของใช้ที่ทำด้วยทองเหลืองและ  Chrom   ใช้ผสมน้ำล้างผักก่อนนำไปประกอบอาหารหรือทำสลัด  ผสมน้ำเป็นปุ๋ยต้นไม้ต่าง ๆ  ใส่น้ำหมักเพียงเล็กน้อยลงในสระน้ำทำให้น้ำใสสะอาดไม่มีกลิ่นใบไม้เน่าที่ตกตะกอน   ฤดูร้อนปีที่ผ่านมานี้ไม่มียุงและแมลงวันมารบกวนเหมือนเมื่อก่อน  เพราะน้ำหมักทำให้น้ำใสสะอาดตลอดเวลา  และยังเป็นอาหารให้แก่สัตว์ในน้ำด้วย

การทำน้ำหมักบริโภคไม่ยากเลย  แต่ต้องมีความสนใจเอาใจใส่สม่ำเสมอในระยะแรก  ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก  เพราะว่าถ้าไม่สะอาดเพียงพอ  น้ำหมักอาจจะเป็นอันตรายสำหรับการบริโภคได้  ดังนั้นจึงต้องให้เวลากับน้ำหมัก  ถ้าทำปริมาณมากก็ต้องมีเวลาในกับการดูแลมากด้วยเช่นกัน  เพราะว่าในช่วงเริ่มต้นตอนที่กำลังจะเป็นแอลกอฮอร์  จะมีพวกแมลงมารบกวน  หรือเกิดเชื้อราเกาะผิวส่วนบนของผลไม้ที่ลอยอยู่ข้างบน  ต้องใช้ภาชนะที่สะอาดคนเป็นระยะ  เวลาปิดฝาถ้าจะให้ปลอดภัยจากแมลง  ควรใช้ปลาสติกบางปิดที่ปากภาชนะก่อนแล้วดจึงปิดฝาให้สนิท

ถ้าจะให้สนุกกับการทำน้ำหมัก  ก็ควรจะมีผู้ช่วยในการทำด้วย  เช่น  สมาชิกในครอบครัวช่วยกันล้างหั่นผลไม้หรือผัก  ช่วยกันหมัก  ช่วยกันชิม  ช่วยกันดูแล  วัน ๆ  ผ่านไปอย่างมีค่ามากขึ้นค่ะ  เมื่อได้ลงมือทำน้ำหมัก  เพราะยิ่งนานวันน้ำหมักก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น


น้ำหมักตระกูล Berry

น้ำหมักจากผล Nectarine+Pear
น้ำหมักจากชารวมเป็นวุ้น
น้ำหมักจากชารวม อายุการหมัก ๓ เดือน
                                    น้ำหมักองุ่นสีเขียว           น้ำหมักแครอท                                     
น้ำหมัก Kaktusfeige อายุการหมัก ๑ เดือน
น้ำหมักหัวเชื้อจากผล  Pear              
วุ้นจากน้ำหมัก Apricot
วุ้นจากน้ำหมัก Kaki

............................................